วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

meeting 10

it was good, it was fun


I hate the way I am now
I seriously need to lose weight.. :-(



be with friend is really great,
I can't imagine how could I live in this world without friends


08

so many things I have to do

looks like a fool, LOL

min woo sshi,
please wait for me to be a better woman :-)

last year in university
hope this year will be a good year :-D



วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สัมภาษณ์พี่จ๋าที่ร้านวาวี


Assignment ชิ้นสุดท้าย ตามหารุ่นพี่ Idol สถาปนิก ที่จบสถาปัตย์จากลาดกระบัง
ทำให้ฉันมาคิดดูว่า Idol สำหรับฉันเป็นยังไง ฉันอยากจะเดินหน้าไปทางไหนกันแน่
แล้วฉันก็ได้รู้ว่าฉันสนุกที่สุดกับการทำอะไรในคณะ คำตอบก็คือ ฉันชอบที่จะคิด
ฉันเริ่มตามหารุ่นพี่ไปเรื่อย ๆ แต่เหมือนฟ้าบันดาล สวรรค์เป็นใจ ทำให้ฉันไม่ได้สัมภาษณ์ใครเลยจากการติดต่อรุ่นพี่กว่า 10 คน
จนกระทั่ง อ.ธีร์ ได้โทรมาแนะนำรุ่นพี่คนหนึ่งให้ฉันได้รู้จัก ซึ่งรุ่นพี่คนนี้ทำงาน ในแนวทางที่ฉันสนใจ
รุ่นพี่คนนี้ชื่อ พี่จ๋า ค่ะ
เมื่อได้สัมภาษณ์แล้ว ทำให้ฉันรู้ว่า พี่จ๋าเป็นคนทำงานที่ใส่ใจในรายละเอียด และมีความสุขกับการเป็นรูปเป็นร่างของไอเดีย
ฉันชื่นชมคนที่มีความสุขกับการทำงานมากค่ะ :)
นอกจากนี้ตอนแรกที่เห็นพี่จ๋า ก็อดคิดไม่ได้ว่านี่อายุห่างกว่าฉัน 10 ปีจริงเหรอ? ทำไมหน้าเด็กจัง ถ้าเป็นไปได้ ฉันก็อยากจะทำงานแล้วก็วิ้งๆ แบบพี่จ๋าบ้างค่ะ


ตามตารางแล้ว วันนี้ฉันมีนัดกับพี่จ๋าเวลาประมาณ 16.00 น. - 17.00 น. ที่ร้านกาแฟวาวี แต่เนื่องจากการจัดการเวลาที่ผิดพลาดทำให้ฉันถึงที่หมายเร็วไปหน่อย เลยทำให้ฉันได้สัมภาษณ์พี่จ๋าเร็วกว่าเดิมเล็กน้อย
ฉันได้รับการแนะนำให้รู้จักพี่จ๋า จากอ.ธีร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของฉัน ขอขอบคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ :)


พี่จ๋า มีชื่อว่า ปทมพร เขจรนันทน์
ตอนเลือกคณะนั้น ทั้งอันดับ 1 และอันดับ 2 พี่จ๋าเลือก สถาปัตย์ สถาปัตย์ ทั้งคู่ เป็นการเลือกที่ตั้งใจและแน่วแน่มาก :)
พี่จ๋าเข้าเรียนสถาปัตย์ลาดกระบังในปี 37
และในตอนนี้ พี่จ๋าทำบริษัทอยู่กับอาจารย์ธีร์ ชื่อบริษัทคือ let's design
ปัจจุบันพี่จ๋าทำงานออกแบบเป็นหลัก คือเป็นสถาปนิกที่ทำทั้งสถาปัตย์หลัก แล้วก็ทำอินทิเรียด้วย


ฉัน : พี่จ๋าคิดว่าอะไรคือสิ่งสำคัญของการทำงานตรงนี้คะ
พี่จ๋า : พี่คิดว่า หนึ่งก็คือใจรัก สองก็ต้องแบบแสวงหาความรู้ คืออะไรมันมาใหม่ๆ ตลอด เอาใจใส่กับมัน แล้วก็อดทนน่ะ เพราะที่เราเรียนมามันเป็นเหมือนพื้นฐานไง ในการประกอบวิชาชีพ พอมาประกอบวิชาชีพจริงๆแล้วมันอาจจะแบบ มากมายกว่าที่เราเรียนเยอะ ต้องมาค่อยๆเรียนรู้มัน
ฉัน : คือเหมือนแบบจบไปก็ต้องมาเรียนใหม่อีกครั้งใช่มั้ยคะ
พี่จ๋า : ใช่ค่ะ ประมาณนั้นเลย


ฉัน : ขอให้พี่จ๋ายกตัวอย่างผลงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีอ่ะค่ะ ในแง่ที่พี่จ๋าภาคภูมิใจน่ะคะ
พี่จ๋า : คือถ้าเป็นงาน Tect พวกบ้านอะไรอย่างนี้ พี่ก็จะชอบหมด มันเหมือนเราวาดในกระดาษ แล้วก็ไปรอดูหน้างานจริงอะไรอย่างเงี้ย
ฉัน : คือพี่จ๋าออกแบบด้วยแล้วก็ไปดูหน้างานด้วยเหรอคะ
พี่จ๋า : อื้อ (ขยันนะเนี่ย) คือไปดูแล้วมันแบบ ไอ้ที่เราเรียนมานี่มันแบบ น้อยมากน่ะ ที่เราเรียนในมหาลัยน่ะ มันเหมือนแค่ 20% กว่าจะเสร็จงานจริงน่ะ มันต้องประกอบกันเยอะมาก
ฉัน : ก็คือเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของงาน แต่เราทำให้มันเกิดขึ้นจริงใช่มั้ยคะ
พี่จ๋า : อืมม



งานส่วนหนึ่งของพี่จ๋าค่ะ :)


ฉัน : ตอนเด็กๆพี่จ๋าชอบเล่นอะไรรึเปล่าคะ (เล่นอะไร?) แบบ บ้านจาจา อะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ
พี่จ๋า : ไม่เลย (จริงเหรอ) อืมม
ฉัน : อ้าวงั้นตอนเด็กๆชอบทำอะไรอ่ะคะ
พี่จ๋า : ก็ชอบวาดรูปธรรมดา ตอนเอนท์ติดพี่ก็ไม่รู้หรอก ว่าสถาปัตย์นี่มันขนาดไหน พี่ก็คิดว่ามันออกแบบบ้านธรรมดา ปรากฎว่า ตอนปี 1 ก็ออกแบบบ้านเสร็จแล้วไง พอขึ้นปีต่อๆไปก็มีแบบ ออกแบบโรงพยาบาล พี่ก็ อ้าว มีด้วยเหรอ เพิ่งรู้ตอนเรียน
ฉัน : ฝ้ายตอนแรกก็ชอบวาดรูป ก็เลือกเลยคณะนี้ พอเข้ามาฝ้ายก็ เอ่อ หืมม?
พี่จ๋า : แล้วยิ่งตอนทำงานจริง มีทั้งเรื่องกฎหมายทั้งวิศวะ อะไรอย่างเงี้ย ต้องรู้บ้างน่ะ ไม่งั้นลูกค้าก็ถามๆๆ มันมากยิ่งกว่าตอนเอนท์อีกน่ะ
ฉัน : แล้วโดยมากจะเจออุปสรรคอะไรบ้างคะ
พี่จ๋า : ก็.. ส่วนใหญ่จะเหมือนกับว่า เรียนรู้น่ะ การดีลกับลูกค้า แล้วก็เรื่องหน้างาน ที่เราไม่มีประสบการณ์ บางทีเราเขียนแบบไม่เคลียร์ ไปหน้างานก็มีเรื่องดีลกับผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก็อาจจะดูแบบเราแล้วไม่เคลียร์ เราก็ต้องคอยอธิบาย บางสิ่งเราก็ยังไม่รู้จริงๆ มันก็จะมีปัญหาหน้างาน แล้วก็เรื่องลูกค้า ความต้องการของลูกค้า ลูกค้าแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน มันก็ต้องคอยดู แบบจิตวิทยาอะไรอย่างนี้


ฉัน : แล้วพี่จ๋าคิดยังไงกับจรรยาบรรณวิชาชีพคะ
พี่จ๋า : แบบไม่ควรทำผิดกฎอะไรอย่างนี้เหรอ?
ฉัน : ก็คือคิดยังไงกับแต่ละข้อที่เค้าเขียนมา รู้สึกว่ามันล้าสมัยบ้างหรือเปล่า
พี่จ๋า : เช่นอะไรบ้างอ่ะคะ
ฉัน : ก็มีเช่น ควรซื่อสัตย์ ไม่ควรแอบอ้างไอเดียของคนอื่นมาเป็นของเราประมาณนี้
พี่จ๋า : พี่เชื่อนะ.. พี่เชื่อว่าอย่างนั้น มันควรจะเป็นอย่างนั้น คือแบบเราคิดมา มันก็ผ่านขั้นตอนมาเยอะแยะก่อนจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก้อนนึง คือมันไม่ใช่แค่สี่เหลี่ยม มันมากกว่านั้น
ชีวิตจริงก็จะมีคนทำแหละ หรือว่าลูกค้าบางคนเค้าก็จะคิดแบบ สิ่งที่เค้าเอาไปเค้าไม่ได้ก็อปปี้ของเรานะ เค้าเอาไปเปลี่ยนแปลงนิดๆหน่อยๆ แต่จริงๆมันก็ไม่ใช่ไง มันก็มาจากของเราไง



งานส่วนหนึ่งของพี่จ๋าค่ะ :)


ฉัน : พี่จ๋ามีความคิดเห็นยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมบ้างคะ
พี่จ๋า : พี่คิดว่าก็ดี ยิ่งพี่ทำงานกับธีร์ อะไรอย่างนี้ ธีร์เค้าเป็นอาจารย์ เค้าก็จะคำนึงเรื่องนี้สูงมาก เราก็ฟังเค้า บางอย่างในชีวิตจริงมันก็ยากน่ะ ที่จะทำให้มันเป็นอย่างนั้นได้ 100% แต่เราก็ฟังเค้า ฟังแนวความคิดเค้า แล้วก็มาพยายามปรับให้มันใช้ได้จริง
ฉัน : ใช่ค่ะ อาจารย์ธีร์เน้นเรื่องนี้มาก เหมือนช่วงหลังจะยิ่งเน้นมากกว่าเดิม
พี่จ๋า : ธีร์ ปูรณ์ อะไรอย่างเงี้ย เน้นอยู่แล้วไง พวกนี้เค้ามาทางนี้ แต่เวลาพี่ฟังมันเหมือนเป็นทฤษฎี แต่ชีวิตจริงอาจจะไม่ได้ 100%
ฉัน : อันนี้พี่จ๋าทำบริษัทกับอาจารย์ธีร์ใช่มั้ยคะ แบ่งงานกันยังไง
พี่จ๋า : เหมือนธีร์เป็นคอนเซ้าท์น่ะ ส่วนพี่เน้นออกแบบ




ส่วนตัวชอบงานชิ้นนี้มากเลยค่ะ น่ารักมากอ่ะ!


ฉัน : พี่จ๋ามีอะไรอยากฝากถึงรุ่นน้องบ้างคะ
พี่จ๋า : ก็.. ให้ตั้งใจเรียน แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะดีไซน์ คอน คอนสตรัคชั่นเนี่ย สำคัญ แล้วก็วิชาอื่นๆ อย่างตอนพี่เรียนพี่ก็ชอบดีไซน์ แต่จริงๆแล้วมันสำคัญในทุกๆวิชา แล้วก็การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มันเป็นเรื่องที่สำคัญในชีวิตจริงมากนะ ไม่ใช่ว่าเราชอบแบบนี้ แบบนี้ของเราถูก ความสวยงามมันไม่มีถูกต้องนะ มันมีแต่ว่าเหมาะสมกับคนนี้รึเปล่า เหมาะสมกับลูกค้าเจ้านี้หรือเปล่า รวมถึงเรื่องเปิดใจให้กว้าง แล้วก็มีอุปสรรคอะไร คิดไม่ออก นู่นนี่ ให้พยายามคิดว่า กรอบที่เราได้มามันคือให้เราแก้ปัญหา อย่าคิดว่าทำไมอาจารย์ให้เราทำแบบนู้นแบบนี้ จริงๆมันคือสร้างกรอบในชีวิตจริง ถ้าเราแก้ปัญหามันได้ เราก็จะบรรลุไปอีกขั้นหนึ่ง (เหมือนเราเป็นคนแก้ปัญหาใช่มั้ยคะ) ถูก ใช่ เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ สถาปนิกเนี่ย ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างที่เราอยากทำ 100% ก็ให้คิดว่ายิ่งมีกรอบยิ่งสนุกไง เราก็แก้ๆๆ ถ้าไม่มีกรอบเราก็ไม่มีอะไรให้แก้
ฉัน : ก็เนี่ย อาจารย์บอกเหมือนกันค่ะ ว่ากรอบหรือกฎที่เจอในคณะเนี่ย มันน้อยกว่าที่จะออกไปเจอในชีวิตจริงมากนัก
พี่จ๋า : ถูกๆ อืม


แล้วการสัมภาษณ์ก็มาถึงจุดสิ้นสุด พอถ่ายรูปกันสักพักฉันก็ขอลาพี่จ๋าออกมาทันที ด้วยไม่รู้ว่าพี่จ๋ามีธุระหรือต้องทำงานอะไรอีกหรือเปล่า
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่จ๋าและร้านกาแฟวาวีมากค่ะ
ขอบคุณร้านกาแฟในฐานะที่ให้ที่สัมภาษณ์ รวมถึงพนักงานที่ช่วยถ่ายรูปให้
และขอขอบคุณพี่จ๋า ที่สละเวลาและให้โอกาสฝ้ายได้สัมภาษณ์ค่ะ :)

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

Victorian Style




อะไรคือ Victorian ที่แท้จริง?
มีผู้คนมากมายใช้คำนี้อธิบายรูปแบบหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม ทว่าความจริงนั้น Victorian ไม่อาจถูกเรียกเป็นอีก 1 รูปแบบได้ เพราะคำนี้เป็นคำอธิบายช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ต่างหาก
ช่วงยุค Victorian อยู่ใน ค.ศ. 1840 - 1900 และในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น งานอุตสาหกรรมมากมายได้นำการตกแต่งสถาปัตยกรรมเข้ามา ทำให้เกิดการเรียกการออกแบบ - การตกแต่งที่คล้ายกับงานในยุคนั้นว่า Victorian Style


Portrait of Queen Victoria


อย่างไรก็ดี คำว่า Victorian Architecture นั้น อ้างอิงได้ชัดเจนกว่าหากเราจะพูดถึงหนึ่งในรูปแบบงานสถาปัตยกรรม ในสมัยวิคตอเรียน ซึ่งในภายหลัง ได้กำหนดช่วงเวลาดังกล่าวไว้ชัดเจน คือ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 - 22 มกราคม ค.ศ. 1901 ซึ่งเป็นยุคแห่ง ราชินี วิคตอเรีย
โดยรูปแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษผสมกับแบบฝรั่งเศส โดยตั้งชื่อ Style ในภายหลังเพื่อยกย่องกษัตริย์ผู้ครองราชย์ในขณะนั้น


สถาปัตยกรรมแบบ Victorian ในอังกฤษ

ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รูปแบบ Romantic Medieval Gothic ได้เริ่มปรากฎขึ้น และในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ได้เกิดผลจากเทคโนโลยีการสร้างอาคารใหม่ ๆ ทำให้พัฒนาจนเกิด เหล็ก
นอกเหนือจากรูปแบบจากพระนางราชินี วิคตอเรียแล้ว วัสดุใหม่ ๆ ก็สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์เช่นกัน
หนึ่งในบุคคลที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ Joseph Paxton สถาปนิกผู้ออกแบบ The Crystal Palace นอกจากนี้ Paxton ยังได้สร้างบ้านเช่น Mentmore Towers ในแบบที่โด่งดังและทำให้หวนคิดถึง Renaissance Style
ในยุคนี้นับเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองและเกิดการพัฒนามากที่สุดยุคหนึ่งของสถาปนิกชาวอังกฤษ พวกเขาได้สนับสนุนการก่อสร้างด้วยวิธีการใหม่ๆหลายแบบ


The Crystal Palace


การแพร่กระจายของ Victorian Style

ในศตวรรษที่ 18 มีสถาปนิกอังกฤษอพยพออกจากอาณานิคม แต่เมื่อจักรวรรดิอังกฤษได้ตั้งมั่นและมีถิ่นฐานที่มั่นคงแล้ว ในศตวรรษที่ 19 สถาปนิกหลายคนที่อพยพไปนั้นจึงเริ่มต้นอาชีพของพวกเขา บางคนเลือกสหรัฐอเมริกา บ้างเลือกแคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมากแล้วพวกเค้าจะออกแบบงานสถาปัตย์แบบที่เค้าได้เห็นและเรียนรู้จากอังกฤษ และในภายหลัง, ช่วงครึ่งหลักของศตวรรษ มีการพัฒนาการขนส่งและการติดต่อซึ่งทำให้งานสถาปัตย์แบบนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลาย แม้กระทั่งในรูปแบบหนังสือคือ The Builder Magazine ซึ่งเป็นส่วนช่วยสถาปนิกชาวโคโลเนียลให้อยู่เคียงคู่ไปกับสมัยนิยม ด้วยเหตุนี้ อิทธิพลจากงานสถาปัตยกรรมจากอังกฤษจึงเผยแพร่ไปทั่วโลก


จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น Victorian Syle ?

1. ดูที่วัสดุและการตกแต่ง หากมันเรียบง่ายแล้วล่ะก็ นั่นไม่ใช่ Victorian แน่ๆ เพราะ Victorian นั้นเต็มไปด้วยรายละเอียดและดูมีราคาอย่างที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น โซฟา หรือเก้าอี้ ซึ่งจะต้องมีผ้ามาประดับและเป็นส่วนหนึ่ง มีส่วนโค้งในส่วนโค้ง เต็มไปด้วย Pattern ที่ดูเยอะและซับซ้อน สำหรับบางคน Victorian Design คืองานที่ทำให้รู้สึกอึดอัดหรือหายใจไม่ออก ทว่าสำหรับบางคน คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึก
สะดวกสบายที่หรูหราสง่างาม

2. ลองสังเกตที่พื้นผิววัสดุ หากมันเรียบลื่นและไม่ถูกตกแต่ง, สามารถมองเห็นวัสดุที่ทำให้เกิดชิ้นงานนั้นได้ นั่นไม่ใช่ Victorian Design
ลองดู Pattern ใน Pattern ทั้งในผ้า, ส่วนประกอบ, พรม, โต๊ะ หรือแม้แต่เก้าอี้ ในงานออกแบบแบบ Victorian นั้น ยิ่งเยอะยิ่งดี
งานตกแต่งนั้นมักจะดูเป็นผู้หญิงและมีรายละเอียดเช่น มีครุย ฝอย ที่ปลายผ้า มีลวดลายที่ดูเป็นแบบแผน ซึ่งลายที่นิยมที่สุดคือลายดอกไม้

3. รู้ว่างาน Victorian Design นั้น สีไม่เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่ต้องเข้มแข็งดั่งเพชรพลอย เพราะสีในงานออกแบบนั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพ

4. แต่อย่างไรก็ต้องระวังการใช้สี เพราะเป็นสิ่งสำคัญ แม้สีนั้นควรจะเข้มและแสดงออกอย่างที่มันเป็น แต่ภาพรวมที่จะเกิดขึ้นจะต้องดูอบอุ่น ดูเหมือนรังไหมดิบสีเข้ม ในบ้าน Victorian Style หลายหลัง แสดงให้เห็นความเฉียบคมของการใช้สีที่ตัดกันระหว่างความสลัวของห้องนั่งเล่น กับห้องที่สว่างดั่งแสงอาทิตย์ที่ปรากฎในห้องที่แสงลอดผ่านหรือเรือนกระจก อาจกล่าวได้ว่าการแยกรูปแบบแสงที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นเหมือนตราที่แสดงว่านี่คือ Victorian Style
และสีที่นิยมที่สุดคือสีม่วง (eggplant) เขียวขี้ม้า (bottle green) และสีแดง (red)

5. สังเกตที่การสลักไม้หรือโลหะ ว่ามีคุณภาพหรือเปล่า หากเป็น Victorian Design นั้นยิ่งตัดลึกลงไปเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นการสะท้อนเล่นกับแสงที่ทำให้เกิดงานที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น
ไม้มักจะนิยมถูกแกะสลักให้โค้ง ไม่ว่าจะกับกรอบหน้าต่าง โต๊ะ หรือเก้าอี้ หากเป็นผ้ามักนิยมกำมะหยี่

6. ในส่วนของพื้น เรามักจะเห็นพื้นไม้อยู่ด้านล่างสุด หรือกระเบื้องเซรามิคขนาดเล็กก็ตามแต่ อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้จะถูกปูพรมทับอยู่ดี โดยลายของพรมมักจะเป็นพรมชั้นดี ลวดลายแบบตะวันออก หรือลายดอกไม้

Victorian Rugs

7. ภาพในแบบ Victorian ที่มักประกอบไปด้วย สัตว์ต่างๆ, นก ดอกไม้ หรือแม้กระทั่งคน จะปรากฎออกมาแบบ Realism แทนที่จะเป็นแบบ Impressionism อย่างที่เรามักเข้าใจกัน

Landseer Queen Victoria and the Prince Consort at Windsor 1841 - 1845
http://www.shafe.co.uk/art/Introduction_to_Modern_Art_13-10-03_-_Academies.asp




การเข้ามาของ Victorian Style ในประเทศไทย

Victorian Style นั้นเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อชนชาติชาวยุโรปเข้ามาเยือน โดยจะเห็นได้จากบ้านเรือนต่าง ๆ ที่เริ่มมีการประดับตกแต่งด้วยรายละเอียดที่งดงามและดูหรูหรา โดยขอยกตัวอย่างอาคารสำคัญที่ได้รับอิทธิพลจาก Victorian Style ในประเทศไทยคือ
พระที่นั่งวิมานเมฆ


ประวัติพระที่นั่งวิมานเมฆ (
Vimanmek Mansion
)

ในปี พ.ศ. 2440 สมัยที่ ร.5 ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากประพาสทวีปยุโรปครั้งที่ 1 ได้ทรงมีพระราชดำริว่ากษัตริย์ยุโรปมีพระราชวังทั้งในและนอกพระนครอย่างละแห่งประกอบกับพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพค่อนข้างแออัด ลมพัดไม่สะดวกจึงทรงโปรดให้สร้างวังแห่งใหม่ขึ้นที่ชานพระนคร ทรงนึกถึงเกาะสีชังขึ้นมา
เนื่องจากในสมัย ร.4 ครองราชย์ ครั้งหนึ่งได้เคยตามเสด็จไปประพาสชายฝั่งตะวันออกเพื่อทอดพระเนตรวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนั้นท่านทรงได้ประทับเรือกลไฟพระที่นั่งไปถึง ชลบุรี, ระยองและพักที่เกาะสีชังโดยได้ประทับค้างคืนบนเรือพระที่นั่งด้วยความที่มีทัศนียภาพงดงาม ลมทะเลโกรกเย็นสบายแต่มิได้เคยไปประทับอีกเลยจวบจนสิ้น ร.4 ทำให้ ร.5 รำลึกถึงที่นี่และได้สร้างพระราชวังขึ้น
ขณะนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงพระมเหสีได้ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก พระราชโอรส (ต่อมาได้ขึ้นเป็นกรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย) ดังนั้นพระราชวังที่สร้างขึ้นนี้ ร.5 จึงทรงพระราชทานชื่อว่า “จุฑาธุชราชฐาน” ในการนี้ได้สร้างอาคาร, พระที่นั่ง, ตำหนักประกอบกันหลายหลัง ส่วนพระที่นั่งที่ประทับนั้น ชื่อว่า มันธาตุรัตนโรจน์
ขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างช่วงนั้น ทางกรุงเทพได้เกิดวิกฤตการณ์ รศ.112 ไทยเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศสทางชายแดนอีสานมีการรบกันทหารไทยทำให้ทหารฝรั่งเศสบาดเจ็บและล้มตายไปหลายนายฝรั่งเศสจึงส่งเรือปืน 3 ลำมาปิดปากอ่าวไทยยิงกันที่ป้อมพระจุลจอมเหล้าทำให้เรือรบฝรั่งเศสเสียหายทางฝรั่งเศสต้องการให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาท
ซึ่งในสมัย ร.3 นั้นท่านทรงมีเงินเก็บไว้บางส่วนจากการค้าขายกับเรือสำเภาจีน โดยเก็บไว้ในถุงแดงและท่านได้รับสั่งไว้ก่อนสวรรคตว่า เงินจำนวนนี้เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง ร.5 ท่านจึงได้ทรงนำเงินจำนวนนี้มาใช้ นอกจากเงินแล้วไทยยังต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาวทั้งหมด) ให้กับฝรั่งเศสด้วย

ร.5 ทรงโทมนัสมาก ประชวรนานหลายเดือน ท่านทรงเห็นว่าพระที่นั่งจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชังคงไม่เหมาะจะไปประทับแล้วเพราะอยู่ไกลจากเมืองหลวง หากมีเหตุคับขันจะไม่สะดวกในการกลับมา
ท่านจึงให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2436 เสีย
ต่อมาในปี 2440 หลังกลับจากยุโรป จึงทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่นาบริเวณทุ่งสามเสนและโปรดให้สร้างวังขึ้น เรียกว่า วังดุสิตต่อมาเปลี่ยนเป็น วังสวนดุสิต และเป็น พระราชวังสวนดุสิต ในที่สุด
ทรงเห็นว่าพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่ทรงสร้างค้างไว้นั้นยังดีอยู่จึงทรงสั่งให้รื้อมาสร้างที่นี่แทน โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์เป็นแม่กองในการรื้อและออกแบบสร้างพระราชวังสวนดุสิตด้วย


พระที่นั่งนี้เป็นรูปตัว L หลังคาสีแดง สูง 3 ชั้น ด้านตะวันตกเป็นหอ 8 เหลี่ยมสูง 4 ชั้น
ชั้นที่ 4 มีห้องบรรทมของ ร.5
รูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารเป็นแบบอังกฤษ Victorian Style แต่ใช้วัสดุของไทย คือไม้สักทอง
ดังนั้น พระที่นั่งนี้จึงเป็นพระที่นั่งไม้สักทองทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พระที่นั่งนี้ มีห้องทั้งหมดประมาณ 70 ห้อง แบ่งเป็น 5 กลุ่มสี ได้แก่ สีฟ้า, ชมพู, พีช, เขียว และเหลืองโดยมีพระมเหสีดูแลและรับผิดชอบแต่ละกลุ่มสีแยกกันไป
ในพระที่นั่งนี้ มีห้องบรรทมรวมถึงของเจ้านายฝ่ายใน-พระโอรส-ธิดา ,ห้องเสวย, ห้องสรง ,ห้องโป่งเพื่อไว้ทรงออกรับแขก


ร.5 ทรงเสด็จมาควบคุมการก่อสร้างทุกวันโดยทรงหัดขี่จักรยานในพระบรมมหาราชวังก่อนจนคล่อง ท่านจึงได้ขี่นำขบวนจากพระบรมมหาราชวัง มาตามถนนราชดำเนินเพื่อมาดูการก่อสร้างทุกวันตลอด 19 เดือน
บางครั้งก็ทรงนำพระราชกิจมาทรงที่นี่ด้วยและบางครั้งก็ค้างคืนที่นี่เช่นกัน

ครั้งหนึ่ง ร. 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตพระราชโอรสซึ่งไปศึกษาอยู่ประเทศเยอรมัน ความตอนหนึ่งว่า “ชายบริพัตรฯบัดนี้พ่อมาอยู่ที่วังสวนดุสิต ลมโกรกเย็นสบายดีเหลือเกิน”


หลังจาก ร. 5 ทรงอยู่ที่นี่ได้ประมาณ 5 ปี ท่านทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งอภิเศกดุสิตขึ้นอีกหลังเพื่อเป็นสถานที่ในการพระราชทานเลี้ยง หรือจัดงานต่างๆพระที่นั่งนี้มีการใช้ไม้ฉลุลายขนมปังขิงประดับไว้ตามชายคาอาคารโดยรอบด้วย
ด้านหนัาประตูทางเข้าพระที่นั่งอภิเศกดุสิตมีอาร์มแผ่นดินที่คิดขึ้นในสมัย ร.5 ประดับอยู่
ในตรานี้ ด้านบนมีรูปช้าง3 เศียรคือช้างไอยราพต หมายถึงประเทศสยาม , เหนืออาร์มมีตราจักรี มีมหามงกุฎครอบอยู่, ด้านล่างซ้ายมีรูปช้างเชือกเดียว หมายถึงประเทศลาว, ล่างขวามีรูปกฤชสีแดงหมายถึงเมืองขึ้นของไทยสมัยนั้นอันได้แก่ มลายู, ไทรบุรี, กลันตัน, มะริด, ตรังกานู ,2 ข้างมีคชสีห์ (สมุหกลาโหม) และราชสีห์ (สมุหนายก) ประกอบอยู่เป็นตราประจำประเทศไทย
พอถึงสมัย ร.6 เปลี่ยนไปใช้ตรา ครุฑพาห์ เป็นตราประจำประเทศแทน


ภายในพระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นโถงใหญ่มีพระที่นั่งที่ประทับของ ร.5 โถงนี้จุคนได้ประมาณ 100 คน
มีการประดับกระจกสีหรือ stain glass ด้านบนด้วย ภายในตกแต่งแบบตะวันตกใช้ในการออกว่าราชการและพระราชทานเลี้ยง
ต่อมาได้ทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งอัมพรสถานโดยให้ช่างชาวอิตาลีเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเป็นแบบ 3 ชั้นก่ออิฐถือปูน สร้างแล้วเสร็จในปลายสมัย ร.5 ท่านจึงได้ย้ายไปประทับและสวรรคตที่นั่นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 วันรุ่งขึ้นจึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท



ในช่วงปลายรัชกาลเช่นกัน
ท่านยังโปรดให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมให้เป็นคู่กับพระที่นั่งอัมพรสถาน (พระที่นั่งวิมานเมฆ คู่กับพระที่นั่งอภิเศกดุสิต)
เดิมจะสร้างให้เป็นแบบทรงไทยทั้งคู่ แต่สถาปนิกไทยได้ทยอยตายกันไปหมดแล้วเหลือเพียงพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) ซึ่งคุมการก่อสร้างคนเดียวไม่ไหวเนื่องจากอายุมากแล้ว
เลยทรงโปรดให้สถาปนิกชาวอิตาเลียนคุมการสร้างแทน ผังอาคารเป็นรูปไม้กางเขนมีโดมขนาดใหญ่ตรงกลาง และโดมขนาดเล็กรารอบ ใช้หินอ่อนสีขาวจากเมืองคาราลา อิตาลีหลังคาหุ้มด้วยทองแดงแต่เราจะเห็นเป็นสีเขียวเนื่องจากออกไซด์ของทองแดงทำให้สีหลังคาเปลี่ยนไป

พระตำหนักเรือนต้นนี้ได้เคยเป็นที่ใช้รับรองเพื่อนต้นด้วย เนื่องจาก ร. 5 ทรงชอบเสด็จประพาสต้นบ่อยๆ โดยลงเรือเล็กๆ เข้าไปตามที่ต่างๆ บริเวณหัวเมืองเพื่อดูวิถีและการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
วันหนึ่งได้เสด็จหัวเมืองแถบจังหวัดอ่างทองไปพร้อมข้าราชบริพารรวม 3 คนเข้าไปในคลองที่ซอยออกมาจากคลองใหญ่แล้วได้จอดเรือกระแซงที่หน้าบ้านของนายช้างในตอนเช้า
นายช้างมาเห็นเข้าก็ชวนขึ้นมาทานข้าว ภายหลังได้รู้ว่าท่านคือใครท่านก็ได้พระราชทานไม้ตะพดหัวหุ้มเงิน มีตรา จปร.บนหัวไม้เท้าให้เป็นสัญลักษณ์ว่าคนๆ นี้ เป็นเพื่อนต้นของท่าน แต่หากเป็นผู้หญิงท่านจะพระราชทานหีบหมากให้แทน
และท่านทรงสั่งกำชับบรรดาทหารยามและทหารมหาดเล็กไว้ว่าหากวันใดมีชาวบ้านถือไม้เท้าหรือหีบหมากลักษณะนี้มาขอเข้าเฝ้าให้เข้ามาได้ทันทีและตลอดเวลา เพราะท่านถือว่า
เพื่อนจะมาหาเพื่อนเมื่อใดก็ได้

ต่อมาพระที่นั่งวิมานเมฆได้ถูกปิดตายช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2525 เป็นเวลา 50 ปีเต็ม

สมด็จพระนางจ้าสิริกิต์พระบรมราชินินาถ ทรงขอพระราชทานการซ่อมแซมพระที่นั่งนี้จาก ร.9 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ของ ร. 5 ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมา
จากห้องทั้งหมดประมาณ 72 ห้องได้เปิดให้เข้าชมประมาณ 30 กว่าห้อง เช่น ห้องโป่ง, ห้องพระบรรทม, ห้องสังเวยพระป้าย, ของสังเค็ต (ของชำร่วยแจกงานศพในสมัยนั้น) ,หีบพระร่มทองคำ (หีบใส่ยารักษาโรค) ฯ

ในห้องโป่งมีพระราชอาสน์สีแดงอยู่องค์หนึ่งซึ่งข้าราชบริพารและเชื้อพระวงศ์ในสมัยนั้นได้ร่วมกันสร้างถวายในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 40 พรรษา
โดยตามขอบพระราชอาสน์มีการสลักสัญลักษณ์ของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Royal Regalia) ประดับตามขอบพระราชอาสน์ อันได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฏ , พระแสงขรรค์ชัยศรี , ธารพระกร , พัดวาลวิชนี (พระแส้ขนจามรี และพัดโบกใบตาล) และฉลองพระบาทเชิงงอน



อ้างอิง
4. ประวัติพระที่นั่งวิมานเมฆ
หนังสือ เบื้องหลังการเยือนกรุงสยาม ของมกุฎราชกุมารรัสเซีย มิติการเมืองใหม่สมัยร.5

5.
7.
http://www.ช่างภาพ.com/พระที่นั่งวิมานเมฆ-vimanmek/

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Day 9

แล้วการเดินทางก็มาถึงวันสุดท้าย
ฉันแอบภาวนาอยู่ในใจว่าขอให้อยู่บนรถได้นานหน่อย
จนถึงขนาดหลับได้ยิ่งดี
แล้วก็มาถึงจุดหมายแรกของวันสุดท้าย
วัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก

วัดราชบูรณะเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก
ทันทีที่เดินเข้ามา สิ่งที่สะดุดตาที่สุดคือป้ายต้อนรับจากวัด
ทั้งๆที่วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่กลับดูสมัยใหม่
เพราะมีการบูรณะตลอดเวลา อาจเพราะเหตุนั้น
และเพราะวัดนี้ตั้งอยู่อำเภอเมือง กลางเมือง
จึงทำให้บรรยากาศภายในวัดค่อนข้างวุ่นวายเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆที่ฉันได้มีโอกาสไปมาในทริปนี้













หลังจากทำบุญลอดเรือสะเดาะเคราะห์ จนได้แผลมา
ฉันก็เดินข้ามถนนออกไปอีกฝั่งจนถึง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช
โดยวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าพระปรางค์
มีวิหารบริวารสองหลังขนาบข้างอยู่
โดยมีวิหารคดเชื่อมต่อจากวิหารหลวงล้อมรอบพื้นที่เอาไว้
ภายในมีการจัดวางแถวพระพุทธรูปสลับกัน
ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมา
เนื่องจากมันขัดแย้งกับการจัดอาคารซึ่งดูเหมือนจะเป็นรูปแบบสมมาตร










หลังจากเดินวนทำบุญอยู่ได้สักพัก
ก็ถึงเวลาทานข้าว
เป็นครั้งแรกที่ฉันได้ทานข้าวกับน้ำมนต์
และก็คงเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน


โดยไม่ทันรู้ตัว
ทันทีที่ขึ้นรถ
ฉันก็ได้นั่งนานจนหลับอย่างที่ภาวนาไว้


ใจหายอยู่ลึกๆ

.
.